ระบบงานพิมพ์ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน (Printing in the present)

              ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ ถ้ารวบรวมกรรมวิธีหรือวิวัฒนาการ หรือเทคโนโลยีในด้านการพิมพ์คงมีเป็นเกือบสิบๆกรรมวิธี มีการพ้ฒนาของเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ที่บางทีเราเองในฐานะผู้ใช้ก็ยังคาดไม่ถึงว่าเทคโนโลยีของการพิมพ์ทุกวันนี้จะมาได้ไกลขนาดนี้ จากที่ใช้การจัดวางเรียงตัวเองษรทีละตัวให้เกิดประโยคหรือวลีแล้วใช้การกดทับ เพื่อให้เกิดข้อความหนึ่งข้อความไปจนถึงสามารถเกิดเป็นหนังสือขึ้นมาได้เลยหนึ่งเล่ม

ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเหลือกรรมวิธีงานพิมพ์หรือระบบงานพิมพ์แบบไหนเหลืออยู่บ้าง

ไปดูกันเลยจ้าาาา

 

 

1 Digital Offset

              เป็นระบบงานพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์ทีละจำนวนน้อย (Print on Demand) เนื่องจากไม่ต้องทำเพลทหรือแม่พิมพ์ และใช้กระดาษมาตรฐานที่ไม่ใหญ่เกินกว่าขนาด A3 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสเปคของเครื่องพิมพ์ดิจิตอลนั้นๆ ด้วย ซึ่งการพิมพ์แบบ Digital Offset สามารถพิมพ์ตั้งแต่งาน 1 แผ่นได้เลย เหมือนกับเวลาสั่งพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่หากมีการพิมพ์ครั้งละจำนวนมาก เช่น 1,000 แผ่นขึ้นไป ความคุ้มค่าจะไม่ดีเท่าระบบออฟเซ็ต ในทุกวันนี้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบดิจิตอล ได้พัฒนาความคมชัดขึ้นจนมีคุณภาพใกล้เคียงกับระบบออฟเซ็ต คุณภาพงานจะไม่ต่างกันมากนัก หากต้องการความรวดเร็วระบบดิจิตอลย่อมตอบโจทย์ได้ดีที่สุดแน่นอน งานพิมพ์ที่นิยมใช้กับ Digital Offset ได้แก่ เอกสาร, รายงาน, ปริญญานิพนธ์, วิทยานิพนธ์, นามบัตร, ใบปลิว เป็นต้น

2 Offset Printing

offset-printing
ที่มาของภาพ : https://bookprinting.com/resources/offset-printing

              เป็นงานพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษหรือวัสดุอื่นๆ ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับการพิมพ์ครั้งละมากๆ ต้องการความละเอียดสูงรวมถึงเพิ่มลูกเล่นพิเศษ เช่น เคลือบยูวี, เคลือบ PVC, เคลือบด้าน, เคลือบมัน, Di-Cut เป็นต้น สำหรับงานพิมพ์รูปแบบนี้หากยิ่งพิมพ์มากก็จะยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทั่วไปแล้วมักจะพิมพ์ 1,000 ใบขึ้นไป สำหรับงานที่มักใช้ระบบออฟเซ็ต ได้แก่ นามบัตร, ใบปลิว, แผ่นพับ, โปสเตอร์, โปสการ์ด, บัตรเชิญ, แฟ้ม ฯลฯ ส่วนข้อดีของระบบพิมพ์ประเภทนี้คือภาพมีความละเอียดสวยงาม หากยิ่งสั่งพิมพ์จำนวนมากก็จะยิ่งคุ้มค่าและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือหากพิมพ์จำนวนน้อยจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบพิมพ์ดิจิตอล

3 Letterpress Printing

letterpess
ทีึ่มาของภาพ : https://massart.edu/facilities/letterpress

              เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์อย่างหนากัดผิวจนเหลือส่วนที่เป็นภาพนูนสำหรับหมึกพิมพ์ แล้วถ่ายทอดลงบนวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยใช้วิธีกดทับ ในยุคก่อนมีการใช้ตัวอักษรโลหะเป็นตัวๆมาจัดเรียงเป็นข้อความที่ต้องการแล้วใช้เป็นแม่พิมพ์ การพิมพ์ Letterpress มีมานานมากแล้วcarta-a-mano-nelle-ande-letterpress-title

ทีึ่มาของภาพ : http://papeldonbosco.org/EN/letterpress

ในปัจจุบันมีการพิมพ์ประเภทนี้เหลืออยู่น้อย เนื่องจากการทำแม่พิมพ์ลำบากมากและภาพพิมพ์ที่ได้ไม่ค่อยสวยงาม ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้คือ นามบัตร, แบบฟอร์ม, ฉลากกล่อง, ป้ายและงานพิมพ์อื่นๆที่ไม่ต้องการความละเอียดมากและในงานสไตล์คลาสสิค

 

4 Silk Screen

silkscreen

ทีึ่มาของภาพ : https://www.successfulstartup101.com/common-mistakes-in-starting-a-screen-printing-business-at-home/

              เป็นการพิมพ์พื้นฉลุที่ใช้หลักการพิมพ์ คือจะให้น้ำหมึกซึมผ่านผ้าที่ขึงตึงไว้และจะทะลุผ่านไปตามรอยที่ทำการฉลุไว้ สามารถพิมพ์งานสอดสีได้ ความละเอียดของภาพพิมพ์ขึ้นอยู่กับความถี่ของเส้นใยผ้า การพิมพ์แบบนี้จะเหมาะกับงานพิมพ์ที่เป็นพื้นฉลุเท่านั้น และสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลายชนิด ทั้งกระดาษ ผ้า ไม้ พลาสติก และบนวัสดุที่มีผิวโค้งได้ เช่น แก้ว ขวด จานชาม เป็นต้น

ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้คือ นามบัตร, บรรจุภัณฑ์ต่างๆ, ป้ายกระดาษ, พลาสติก, โลหะ, ป้ายโฆษณา, เสื้อผ้า, ถุงพลาสติก, ขวด, จานชาม, ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ

 

5 Flexography

flexorollers

ที่มาของภาพ : http://www.wmtlprinting.com/flexo.html

              เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้แผ่นพอลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นที่ดีเป็นแม่พิมพ์โดยกัดส่วนที่ไม่รับหมึกเว้าลึกลงไป การพิมพ์ในระบบนี้ใช้หลักการคล้ายกับการพิมพ์แบบ Letterpress คือใช้การกดทับ แต่หมึกที่ใช้จะเหลวกว่าและใช้ลูกกลิ้งที่ทำขึ้นเป็นพิเศษทีหน้าที่จ่ายหมึก ในปริมาณที่สม่ำเสมอให้กับแม่พิมพ์ การพิมพ์ประเภทนี้ได้รับการพัฒนาจนสามารถพิมพ์ภาพสอดสีได้ แม้คุณภาพงานพิมพ์จะยังเทียบเท่าการพิมพ์แบบออฟเซ็ตไม่ได้ แต่ก็มีใช้ในสิ่งพิมพ์หลายๆประเภทdownload

ที่มาของภาพ : https://area-info.net/flexographic-printing-inks-market-till-2023-forecast-research-report/

ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้คือ กล่องลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ฉลาก ป้าย กล่องกระดาษ กระดาษชำระ ถุงและซองพลาสติก

 

6 Gravure

Schematic-of-the-R2R-gravure-printing-process-a-overall-configuration-of-printing

ที่มาของภาพ : https://www.researchgate.net/figure/Schematic-of-the-R2R-gravure-printing-process-a-overall-configuration-of-printing_fig1_258297337

              เป็นการพิมพ์พื้นลึกที่ใช้แม่พิมพ์ที่เป็นร่องลึกสำหรับบริเวณที่เป็นภาพเพื่อเก็บหมึกแล้วไว้ปล่อยลงบนผิวของชิ้นงานพิมพ์ คุณภาพของงานพิมพ์ประเภทนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม่พิมพ์แบบนี้มักเป็นลูกกลิ้งทรงกระบอก ทำด้วยโลหะใช้วิธีกัดผิวทรงกระบอกเป็นหลุมตามบริเวณที่เป็นภาพ จึงทำยากและใช้เวลา อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง จึงเหมาะกับงานยาวๆ

Gravure-Print-Cylinders-700x600

ที่มาของภาพ : http://keatingspecialist.co.uk/portfolio/image-align-left/

ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้คือ  งานพิมพ์ประเภทซองพลาสติกใส่อาหารและขนม และงานพิมพ์บนพลาสติกต่างๆ งานพิมพ์ในต่างประเทศบางแห่งมีการพิมพ์แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ และงานพิมพ์บนกระดาษที่มีปริมาณพิมพ์สูง

 

7 InkJet

inkjetprinti

ที่มาของภาพ : https://www.openpr.com/news/381058/Large-Format-Inkjet-Printer-Market-growing-demand-for-wide-format-printing-for-media-and-advertising-applications-during-2016-2021.html

              เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามความต้องการของเรา

Pb1098063_g

ทีึ่มาของภาพ : https://phys.org/news/2015-05-inkjet-kesterite-solar-cells.html

ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

  • Inkjet Indoor คือการพิมพ์สำหรับงานที่ติดตั้งภายในอาคารหรือที่ที่แดดไม่สามารถส่องถึง จึงเน้นรายละเอียดความคมชัดของงาน ความละเอียดของงานสูงถึง1200 Dpi เนื่องจากเป็นงานใกล้สายตา เหมาะสำหรับงานที่เป็นประเภทโฆษณา โปรโมชั่น งานตกแต่งหน้าร้าน นิทรรศการ หรือ เปิดตัวสินค้า
  • Inkjet Outdoor คือการพิมพ์สำหรับงานที่งานติดตั้งภายนอกอาคาร ความละเอียดของงานมีตั้งแต่ 720 Dpi – 1400 Dpiแต่ถ้า 700 Dpi จะเหมาะกับงานในลักษณะที่เป็นตัวหนังสือและขนาดใหญ่ที่มีการกำหนดขนาดตั้งแต่ 1 ตารางเมตรขึ้นไป เพราะว่าเหมาะสำหรับการมองที่ระยะ 2 เมตรเป็นต้นไป  ในส่วนของความละเอียดของงานที่ 1400 Dpi จะเหมาะกับงานที่ต้องการความคมชัดสูงมาก เนื่องจากเป็นงานที่สามารถมองในระยะใกล้ได้อย่างคมชัด งาน Inkjet Outdoor จึงเหมาะสำหรับงานป้ายภายนอกอาคาร ที่มีความคงทน เช่น ป้าย Billboard ขนาดใหญ่ และ โฆษณาติดข้างรถต่างๆ

8 Heat Transfer

12-x10-vevor-shoes-and-t-shirt-printing-heat

ที่มาของภาพ : https://www.dhgate.com/product/12-quot-x10-quot-vevor-shoes-and-t-shirt/389252980.html

              การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน (Heat Transfer) หรือเป็นการพิมพ์แบบอ้อม (Indirect Print) คือการพิมพ์ลวกลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์ด้วยเครื่องพริ้นเตอร์แบบ Inkjet หรือ Laser แล้วนำไปกดด้วยเครื่องรีดความร้อน เพื่อให้หมึกระเหิดย้อมติดไปบนเนื้อผ้า โดยมีแผ่นฟิล์มของตัวกระดาษทรานเฟอร์เป็นตัวเคลือบยึดเกาะระหว่างหมึกกับเนื้อผ้า ซึ่งหมึกที่นิยมนำมาใช้คือ dye sublimation ink เพราะมีคุณสมบัติในการระเหิดที่ดีเวลาถูกความร้อน จะทำให้หมึกระเหิดกลายเป็นไอไปย้อมติดลงบนเนื้อผ้า เนื่องจากการพิมพ์แบบ Heat Transfer นั้นต้องการหมึกที่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะเส้นใยของผ้าได้ดี เพราะต้องคงทนต่อการซักล้าง ทนต่อแดดที่มาจากการตากผ้า หรือใส่เดินในที่กลางแจ้ง

ระบบงานพิมพ์ที่เล่ามาทั้งหมดนั้น มีที่นิยมใช้กันมากที่สุด ใช้กันทั่วโลก และทุกคนในวงการการพิมพ์นั้นย่อมรู้จัก ก็คือ..

  • Digital Offset
  • Offset Printing
  • Silk Screen
  • Inkjet
  • Heat Transfer

ซึ่งระบบงานพิมพ์ที่นิยมใช้ทั่วโลกกันนี้ ทางโรงพิมพ์ Smile Siam Printing Service ของเราก็มีให้บริการ

สามารถเข้าไปดูบริการของพวกเราได้ที่ SSPS Shop (click) นะจ้า อิอิ… แอบขายของนิดนึง 😛

ครั้งหน้าพวกพวกเราชาว Smile Siam นำความรู้อะไรมาให้ได้อ่านกันอีก อย่าลืมติดตามกันนะ

 

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล
avisly.blogspot.com
www.theoneink.co.th
www.d-conceit.com
www.pim123.com
Share