เทคนิคการพิมพ์กล่องกระดาษ Premium ให้มีลูกเล่นที่น่าสนใจ
Premium Paper Box คือกล่องที่นิยมสั่งพิมพ์ค่ะ ไว้ใส่สินค้าที่มีราคาสูง หรือทำเป็นกล่อง Gift Set เพื่อนำไปแจกให้ลูกค้าคนสำคัญ หรือเพื่อขายตามเทศกาลต่าง ๆ เช่นวันแม่ หรือวันปีใหม่ไงคะ ทีนี้เวลาที่เราจะออกแบบงานกล่องแบบนี้ให้สวยเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง ควรใช้เทคนิคทางการพิมพ์อะไรบ้าง ? วันนี้เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาบอกกันค่ะ
1. Die-cutting
คือเทคนิคการปั๊มไดคัทค่ะ เวลาที่กราฟิกดีไซน์ออกแบบนั้น หากเราแจ้งเค้าว่าอยากได้งานกล่องแบบมีไดคัทสวยงาม เค้าก็จะออกแบบโดยแยก Layer มาให้โรงพิมพ์ค่ะ ซึ่งเราก็จะเอา Layer นี้ไปทำ Block Die-cut ซึ่งก็คือใบมีด ที่ฝังลงไปบนกรอบไม้ค่ะ แล้วเอา Block นั้นมาเข้าเครื่องปั๊ม เพื่อปั๊มด้วยใบมีดลงไปบนงานกล่องอีกทีค่ะ
เราสามารถออกแบบไดคัทแบบไหนก็ได้นะคะ แต่มีสิ่งที่ทางโรงพิมพ์ควรให้คำแนะนำไว้พึงระวังไว้ ดังนี้ค่ะ
– เส้นระหว่างรอยต่อโดยเส้นนั้นต้องไม่บางจนเกินไป เวลาปั๊มจะได้ไม่ขาดจากกัน
– รูปร่างของงานไดคัท ยิ่งวิจิตรมาก ๆ ยิ่งทำ Block นาน และปั๊มงานได้ช้า ๆ ดังนั้นหากเป็นงานไดคัทรูปดอกไม้ รูปลายฉลุต่าง ๆ ต้องเผื่อระยะเวลาให้โรงพิมพ์ได้ผลิตงานนานขึ้นกว่าปกติด้วยนะคะ งานด่วน งานเร่ง ๆ เราไม่แนะนำเลยค่ะ
2. Emboss & Deboss
คือการปั๊มนูน และปั๊มจม ลงบนกล่องเพื่อให้เกิด Texture ในการมองเห็นและสัมผัสได้
– Embossing = การปั๊มนูน
– Debossing = การปั๊มจม
เทคนิคนี้ คล้าย ๆ กับข้อ 1 คือ ต้องใช้ Block ในการปั๊มให้นูนและให้จมเหมือนกันค่ะ เพียงแต่ Block จะไม่ใช่ใบมีด แต่เป็นตัวตัน ๆ เพื่อให้กระดาษที่เราปั๊มลงไป นูนหรือจมขึ้นมาค่ะ เทคนิคแบบนี้ก็นิยมใช้กันนะคะ เพราะทำแล้วสามารถมองเห็นได้ด้วยตา อีกทั้งยังสัมผัสได้ด้วยค่ะ Block แบบนี้ราคาจะสูงและใช้เวลาทำนานนิดนึงนะคะ โดยเฉพาะการทำเป็นตัวหนังสือทีละตัว ดังนั้นหากจะใช้เทคนิคนี้มาทำกล่อง แนะนำให้เผื่อเวลาให้โรงพิมพ์ด้วยค่ะ
หน้าตาของ Block จะเป็นแบบนี้ค่ะ
Block หรือแม่พิมพ์ที่ใช้ ทำจากโลหะค่ะ นิยมนำมาทำเป็น Logo หรือชื่อสินค้าบนกล่อง การปั๊มนูนและปั๊มจม คือการสร้างมิติขนกระดาษให้นูนสูง ขึ้นมา และกดตัวกระดาษให้จมลงไป ความสูงและความลึกประมาณ 1-2 mm ค่ะ ต่อให้เราวางงานซ้อน ๆ กัน งานแบบนูนก็ยังอยู่ได้ไม่จม
ข้อควรระวังของการทำงานแบบนี้ คือ
ไม่ควรวางงานซ้อนกันแล้วทับจนแน่นและนานเกินไป จะทำให้บริเวณที่ปั๊มนูนนั้นค่อย ๆ จมลงไปได้ หากเราปั๊มจมที่ปกหน้าของกล่อง ฝาด้านในอีกฝั่งของกล่อง ไม่ควรมีรูปภาพ หรือตัวหนังสือใด ๆ นะคะ เพราะเมื่อเราปั๊มจมที่ฝาบน มันก็จะไปนูนที่ฝาด้านในนั่นเองค่ะ
3. Gold & Silver Foil Hot Stamp
คือเทคนิคที่เราเห็นกันบ่าย ๆ ค่ะ นั่นคือการปั๊มฟอยล์สีทองหรือสีเงิน
กล่องที่เห็นในภาพนี้ ทำจากกระดาษนะคะ ใช้ 3 เทคนิคผสมกัน คือ การปั๊มฟอยล์สีทอง + ปั๊มนูนซ้ำไปบนฟอยล์ + ไดคัทไปบนชิ้นงานกล่อง
วิธีการพิมพ์กล่องแบบนี้ เรียงตามนี้ค่ะ
– นำกระดาษ Art Card หนาประมาณ 350 แกรมมาพิมพ์สีพื้นสีดำก่อนแล้วจึงนำไปเคลือบด้าน เพื่อความหนาและความแกร่ง
– นำกระดาษที่เคลือบแล้วมาปั๊ม Gold foil hot stamp ด้วยความร้อนฟอยล์ (Foil) จะสามารถติดบนกระดาษได้ด้วยความร้อน ที่ด้านหลังของฟอยล์ในงานพิมพ์จะมีกาวอยู่นะคะ เมื่อเราใช้ความร้อนมาละลายกาวให้เป็นน้ำ มันก็จะติดลงบนกระดาษแบบไม่สามารถลอกออกได้เลย
จริง ๆ แล้ว Foil ไม่ได้มีแค่สีทองและสีเงินนะคะ มีหลายสีให้เลือกใช้ได้เหมือนกันเลยค่ะ หากต้องการเลือกสีของ Foil ลูกค้าแจ้งเซลเพื่อขอ Catalog มาเลือกสีได้นะคะ พอปั๊ม Foil สีทองลงบ กระดาษแล้ว เราก็จะปั๊มนูนต่อค่ะ จากนั้นจึงนำมาทำการปั๊มไดคัทให้เป็นรูปทรงกล่องตามที่เราออกแบบไว้ค่ะ
ทั้งนี้ หากลูกค้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจขั้นตอน หรือสนใจอยากพิมพ์งานกล่องพรีเมียมด้วยเทคนิคเหล่านี้บ้าง แนะนำให้โทร หรือทักมาสอบถามทีมขายของเราก่อนตัดสินใจสั่งงานพิมพ์กล่องนะคะ เพราะทุกขั้นตอนและทุกเทคนนิคที่กล่าวมาด้านบน เป็น Cost ที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าพิมพ์งาน จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกใช้เทคนนิคแบบไหนนั่นเองค่ะ
Comments