ทำไมสมุดโน้ตเย็บแม็ก ถึงใส่จำนวนหน้าเยอะ ๆ ไม่ได้ ?
สมุดโน้ต, สมุดนักเรียน ส่วนใหญ่ที่เห็นบ่อย ๆ คือแบบเย็บแม็กนะคะ
Saddle stitching = เย็บแม็ก เย็บอก หรือเย็บมุงหลังคา
การเข้าเล่มแบบนี้ ทำไมนิยม ? เพราะมันทำงานง่าย และใช้เวลาไม่เยอะเพราะโรงพิมพ์จะใช้เครื่องเย็บรางแบบออโต้ เย็บและตัดเป็นเล่มออกมาได้ทีละเยอะ ๆ เลยค่ะ
ขนาดที่ใช้กันทั่วไปก็คือ A4 และ A5 ค่ะ แต่งานเข้าเล่มแบบนี้จะมีข้อจำกัดเดียวเลยคือ “มันมีจำนวนหน้ามาก ๆ หนาไม่ได้” เพราะอย่างที่เห็นคือเราเย็บด้วยแม็ก 1 เล่มมี 2 ตัวเองค่ะ หากจำนวนหน้าหนามาก ๆ เล่มก็จะปิดไม่ลง เปิดคา ๆ อยู่แบบนั้นไม่สวย แถมหากเพิ่มความหนากระดาษไปอีกยิ่งแย่เลยค่ะ เพราะเล่มจะอ้าออก ใช้งานได้ไม่
วันนี้โรงพิมพ์สไมล์สยาม มีวิธีแก้ปัญหาแล้วค่ะ!
สำหรับสมุดหรือหนังสือที่จำนวนหน้าเยอะ ๆ ก็แค่เปลี่ยนรูปแบบการเข้าเล่มด้วยแบบอื่นแทนเช่น ไสกาว, เข้าห่วง และเย็บกี่ใสกาว (กรณีที่จำนวนหนามากๆ เช่นพวก หนังสือรุ่นหรือสารานุกรม) อ่านและชมภาพการเข้าเล่มอื่น ๆ ได้ที่นี่ คลิก>>
ข้อดีของสมุดโน้ตแบบเย็บมุงหลังคา หรือเย็บแม็ก
1. ราคาไม่แพง และน้ำหนักเบา พกพาง่าย *นิยมสั่งไว้แจกลูกค้าหรือพนักงานในเทศกาลต่างๆ
2. สั่งงานแล้วได้งานไวมาก เพราะใช้เครื่องออโต้ในการเข้าเล่ม
3. คนรับชอบ เพราะส่วนใหญ่เอาไว้ใช้จดบันทึก
จำนวนหน้าที่น้อยที่สุดที่จะเย็บแม็กแบบนี้ได้คือ 8 หน้า และหนาได้มากที่สุดที่ 40 หน้า
- การเข้าเล่มแบบนี้จะต้องหาร 4 ลงตัวค่ะ คือเริ่มต้นด้วยจำนวนหน้า 8,12,16,20,24,28 หน้า
- ความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มแบบมุงหลังคาตั้งแต่ 70 – 260 แกรม
- นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท เมนูอาหาร, แค็ตตาล็อก, สมุดเรียน, สมุดบันทึก และ Magazine
ปกหน้า
- ของงานสมุดเย็บแม็กแบบนี้ อย่าใช้กระดาษหนาเกินไปนะคะ แนะนำที่ 130-300 แกรม แนะนำเพิ่มให้เคลือบที่ปกนิดนะคะ หากต้องการให้ใช้งานได้นานๆ
เนื้อใน
- หากเป็น วารสาร, แคตตาล๊อคสินค้า ใช้กระดาษ Art มันหรือด้านดีกว่าค่ะ เวลาพิมพ์แล้วสีจะสวย ความหนาได้ตั้งแต่ 120-300 แกรม นั่นหมายถึง ปก และเนื้อในใช้กระดาษเดียวกันได้นะคะ
Tips : การเลือกกระดาษปก+เนื้อใน เป็นกระดาษเดียวกัน *ลดราคาค่าเพลทและค่าพิมพ์ได้ค่ะ เพราะโรงพิมพ์จะเลย์งานวางในเพลทเดียวกันและพิมพ์พร้อมกันได้เลย เป็นการลด Cost ได้ค่ะ
เพลท 1 แผ่นหากวางงานขนาด A4 วางได้ 8 หน้าเลยค่ะ และขนาด A5 ได้ถึง 16 หน้า การวางงานในเพลทร่วมกันได้ เพราะเราพิมพ์ไปบนกระดาษเดียวกันไงคะ เช่น งาน Catalog เสื้อผ้า Brand นึง ขนาด A4 มี 8 หน้าและใช้กระดาษปกหน้าและเนื้อในเป็น Art มัน 160 แกรม โรงพิมพ์จะพิมพ์เพลทชุดเดียวและพิมพ์รอบเดียวค่ะ
แต่หากเลือกเป็นปก Art Card 260 แกรม และเนื้อในเป็น Art 160 แกรมปุ้บ…โรงพิพม์ต้องทำเพลท 2 ชุดทันที ชุดที่ 1 สำหรับพิมพ์บนกระดาษปก Art Card 260 แกรม และชุดที่ 2 สำหรับพิมพ์บนเนื้อใน Art 160 แกรม ค่าเพลท 1 ชุดสมมติราคา 2500 บาท พอเพิ่มเพลทเป็น 2 ชุด ก็เพิ่มราคาเป็น 5000 บาททันที ลูกค้าบางท่านที่ไม่มีเซลแนะนำแบบนี้ ก็จะสั่งงานโดยการใช้เพลท 2 ชุด เสียเงินเพิ่มไปโดยไม่รู้นั่นเองค่ะ หากลูกค้าสนใจเรื่องการ Save cost ในการพิมพ์ ทักเรามาได้เลยนะคะ เดี๋ยวเราแนะนำวิธีประหยัดงบประมาณให้ ADD LINE ปรึกษาทีมขายของเราได้ที่ @smilesiamprinting
Comments