ต้นไม้…กลายเป็นกระดาษได้ยังไง ?
ใคร ๆ ก็พอทราบอ่ะเนอะ….ว่า “กระดาษ” ทำมาจากต้นไม้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าต้นอะไรจะเอามาทำเป็นกระดาษได้นะคะ ต้องทำมาจากต้นกระดาษ ที่พัฒนาสายพันธุ์จากยูคาลิปตัสหลายสายพันธุ์ จนกลายมาเป็นกล้าไม้อีกหนึ่งประเภท ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ดีกว่า และแตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ก็ไม่ได้ทำจากต้นไม้ทั้งร้อยเปอร์เซนต์เหมือนสมัยก่อน เพราะเราต้องการกระดาษหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสี จึงต้องเติมสารอื่น ๆ อีกหลายอย่าง โดยปกติแล้ว ส่วนประกอบหลักของกระดาษจะเป็นส่วนที่เป็นเส้นใยหรือเรียกกันว่า “เยื่อกระดาษ” ประมาณร้อยละ 70-95 แล้วแต่ชนิดของกระดาษ
กระดาษจะประกอบด้วยเยื่อ 2 ชนิด คือ
1. กระดาษ “เยื่อใยยาว”
มีลักษณะหยาบ มีความแข็งแรงสูง ทำมาจากเนื่อไม้อ่อนเมืองหนาว ได้แก่ ไม้พวกสน และสปรูซ ซึ่งต้องนำเข้าจากเมืองนอก เมืองไทยปลูกไม้พวกนี้ไม่ได้ จึงต้องนำเข้าเรียกว่าเป็นกระดาษพิเศษค่ะ กระดาษประเภทนี้ใช้ทำ Packaging ที่ใส่สินค้าหนัก ๆ ได้ หรือ กล่อง 6 Packs ที่ไว้แช่เบียร์ในตู้เย็นไงคะ
2. กระดาษ “เยื่อใยสั้น”
มีลักษณะเนื้อละเอียด แต่ไม่แข็งแรง แต่ทำให้กระดาษแน่น เรียบ ทำมาจากไม้เนื้อแข็งเมืองร้อน เช่น ยูคาลิปตัส กระถินเทพา เบิร์ช แอสเพน เป็นต้น กระดาษประเภทนี้ ก็เอามาทำเป็นกระดาษที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมาก เช่นสมุด Poster Brochure ทั่ว ๆ ไป หรือกระดาษ A4 ที่เราใช้นั่นเองค่ะ
การนำเอาต้นไม้มาทำเป็นเยื่อกระดาษก็ตามภาพเลยค่ะ ภาพนี้จะเป็นการทำกระดาษแบบอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ก็คือกระดาษ A4 ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ไงคะ
ส่วนภาพนี้ เป็นวิธีการทำกระดาษแบบ DIY เช่น กระดาษสาที่นิยมทำกันตามบ้านค่ะทำง่าย ๆ
ทั้งนี้ต้นไม้ 1 ต้นกว่าจะปลูก กว่าจะโตใช้เวลา 3-5 ปี ถึงเอามาทำต้นไม่ได้นะคะ วัน ๆ นึงเราใช้กระดาษกี่แผ่น ? เคยเอากระดาษที่ใช้แล้วมารีไซเคิลใช้ด้านหลังกันมั้ยคะ ? ต้องใช้นะคะ เพราะต้นไม้ใช้แล้วก็หมดไป ต้องปลูกใหม่ อะไรที่เราช่วยกันรีไซเคิลได้ เราก็อยากให้ทำค่ะ
Comments