ปฎิทินตั้งโต๊ะ…ช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าได้อย่างไร ?
สังเกตมั้ยคะ พอใกล้ ๆ ปีใหม่ สิ่งที่เราอยากได้มาวางบนโต๊ะทำงาน…คือ ปฎิทินตั้งโต๊ะ ยิ่งแบบสวยๆ มีที่เขียนโน้ตเยอะ ๆ ใส่วันหยุดมาครบ เรายิ่งชอบ ของมันต้องมีใช่มั้ยล่ะคะ ? และปัญหาที่เราต้องเจอบ่อย ๆ เลยค่ะ เวลาที่เราสั่งทำปฎิทินตอนปลายปี โรงพิมพ์มักจะขอเลื่อนส่งงานประจำ นั่นเพราะการสั่งงานที่เป็นของยอดฮิตและต้องการสินค้าในช่วงเวลาเดียวกันทุกคน จะทำให้งานทุกโรงพิมพ์แน่นมาก ผลิตงานให้เราช้ากว่าที่กำหนด แก้ปัญหากวนใจนี้ง่าย ๆ ค่ะ สั่งงานกันตั้งแต่เนิ่น ๆ สั่งงานล่วงหน้า จะได้รับงานก่อน แจกก่อน คนรับก็เอาวางที่โต๊ะทำงานก่อน ใครแจกช้า คนรับไปก็เอาใส่กล่องวางไว้แทนนะคะ ดังนั้นการที่เราแจกก่อนใคร จึงมีผลกับการได้เห็นสินค้า หรือ Logo Brand ของเราบนงานปฎิทินได้ก่อน วันนี้เราจะมาแนะนำหลักการออกแบบปฎิทินตั้งโต๊ะที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าของคุณกันค่ะ
หลักการออกแบบปฎิทินตั้งโต๊ะ
1. ขนาดที่เหมาะสม เมื่อตั้งแล้วไม่ใหญ่ หรือเล็กเกินไป คือความพอดีที่ลงตัว ขนาดมาตรฐานทั่วไปที่นิยมใช้กันคือ 6*8 นิ้วและ 7*10 นิ้วค่ะ 2. Space ของการออกแบบที่ดีคือ ควรมีที่ให้เขียนข้อความไว้บนปฎิทินได้ ไม่ใช่ใส่ลวดลายเต็มไปหมด ดูแล้วลายตา เขียนอะไรลงไปก็ไม่ได้ แบบนี้คนไม่ชอบ 3. ควรหาจุดที่ใส่ชื่อร้านค้า Logo Brand หรือ ชื่อสินค้าที่เป็นตำแหน่งเดียวกันทุกแผ่น เพื่อเพิ่มความจดจำให้คนรับ ได้เห็นบ่อยๆ เห็นทุกเดือนที่เปิดใช้งาน 4. การเข้าห่วงที่ดีคือ ขนาดของห่วงต้องเหมาะสมกับขนาดปฎิทิน ไม่ใช่ว่าเปิดแล้วขาด เปิดแล้วติดขัด สะดุด เคล็ดลับในการทำให้ราคาปฎิทินเราถูกลงคือ ทำแค่ 4 ข้อ 2 ห่วง (ตามภาพ) ราคาจะถูกกว่าแบบที่ใส่ห่วงเต็มตลอดทั้งแนวค่ะ 5. หน้าปก และสุดท้ายของปฎิทินคือหน้าไฮไลท์นะคะ – ปกหน้า ควรออกแบบให้สวยงาม น่าใช้ อย่าใส่ภาพสินค้ามากเกินไปจนเลอะเทอะ เน้นที่ Logo Brand สินค้า และช่องทางการสั่งซื้อ – หน้าสุดท้าย จำเป็นต้องใส่ 12 เดือนของปีต่อไปเพื่อให้ลูกค้าได้ดูได้สะดวก อย่าลืมใส่ข้อมูลการติดต่อบริษัทของคุณด้วยนะคะอย่างเช่น QR code เบอร์โทร หรือ Website เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าได้ติดตามงานของเราต่อไปนั่นเองค่ะ
โดยทั่วไปเรามักนิยมใช้กระดาษหนาซักนิด เพราะเราต้องใช้งานกันทั้งปี บางไปก็ขาดง่าย หนาไปก็เปิดยาก…ว่ามั้ยคะ
สั่งทำปฎิทินตั้งโต๊ะใช้กระดาษหนาเท่าไหร่ดี?
กระดาษที่เหมาะสมคือ กระดาษอาร์ตการ์ด 190-350 แกรมค่ะ เลือกใช้กระดาษตามงบประมาณที่มีนะคะ หนาก็จะแพงกว่าบางนิดหน่อย
ถามว่าจำเป็นต้องเคลือบกันน้ำมั้ย?
แนะนำให้เคลือบลามิเนต ด้านหรือเงา (ด้านแพงกว่าเงา) เพื่อกันน้ำ กันความชื้นที่ปกหน้าเท่าค่ะ หากมีงบเหลืออยากให้เคลือบ UV เงา หรือวานิชเงาที่รูปภาพในแต่ละเดือนได้ค่ะ แต่หน้าที่เป็นตัวเลขวันที่ ไม่ควรเคลือบ ไว้เผื่อเขียนโน้ตค่ะ เคลือบแล้วจะเขียนไม่ค่อยติด
ปกติทำกี่แผ่น ?
กี่แผ่นนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณนะคะ มี 2 แบบ คือ – ปกหน้า 1 แผ่น+ เนื้อในมี 2 เดือนใน 1 แผ่น = 6 แผ่น + หน้าสุดท้าย (ปีหน้า) 1 แผ่น รวม 8 แผ่น – ปกหน้า 1 แผ่น+ เนื้อในมี 1 เดือนใน 1 แผ่น = 12 แผ่น + หน้าสุดท้าย (ปีหน้า) 1 แผ่น รวม 14แผ่น สุดท้ายนี้ Packaging สำหรับใส่ปฎิทินตั้งโต๊ะเพื่อแจกลูกค้า ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันค่ะ มาดูกันว่าที่นิยมทำกันนั้นมีแบบไหนที่น่าใช้บ้าง
Packaging ที่นิยมใช้สำหรับใส่ปฏิทินตั้งโต๊ะ
1. แบบสายรัด (ราคาย่อมเยาว์ที่สุด) คือการนำกระดาษที่พิมพ์ข้อความมารัดที่ตัวปฎิทิน 2. ซองใส่ปฎิทิน ถ้าไม่พิมพ์ หรือพิมพ์แค่ 1 สีราคาจะถูกกว่าแบบพิมพ์ทั้งซอง 3. ซองพลาสติกใส แบบนี้ถูกที่สุด 4. กล่องกระดาษ เป็นแบบที่ปัจจุบันนิยมมาก เพราะดูหรูหรา มีราคาน่าใช้ ที่นี้เราก็พอทราบแล้วนะคะ ว่าเวลาสั่งทำปฎิทินตั้งโต๊ะ ควรคำนึงถึงอะไรบ้างในบทความต่อๆไป เราจะนำการออกแบบปฎิทินใหม่ ที่วางบนโต๊ะได้เก๋กว่านี้มาแนะนำกันค่ะ กดติดตามกันไว้นะคะ
Comments