ประวัติการพิมพ์ของไทย | History about Printing of Thailand

         เหล่าออเจ้าทั้งหลายเพลานี้คงรู้จักดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทยจากละครบุพเพสันนิวาสในเรื่องของบ้านเมือง การรบ การค้า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ออเจ้ารู้กันรึไม่ว่า “ประวัติการพิมพ์ของไทย” เรานั้นก็เริ่มมีตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือที่ออเจ้ารู้จักกันในนามว่า “โกษาปาน” ก็เป็นหนึ่งในผู้เริ่มพัฒนา

วันนี้ข้าจักพาออเจ้าไปรู้ถึง “ประวัติการพิมพ์ของไทย” กันว่า มีมาตั้งแต่เมื่อใด และผู้ใดหนาที่เป็นผู้เริ่ม

Untitled-1

กรุงศรี

ช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามหลักฐานที่ค้นพบการพิมพ์ในเมืองไทยได้รับเทคโนโลยีจากชาวตะวันตก

 

hpt-10

2205

บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) หนึ่งในคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทย เพื่อพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์ ไวยากรณ์ไทยและบาลี และพจนานุกรมไทย ที่เป็นภาษไทยแต่พิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน

 

hpt-6

2229

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งคณะทูตนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีโอกาสศึกษางานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศส และได้นำกลับมาพัฒนาการพิมพ์ในเมืองไทย แต่ก็ได้หยุดพัฒนาไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชา

 

2356

บาทหลวงชื่อ ศาสนาจารย์ แอดดอไนราม จั๊ดสัน (Reverend Adoniram Judson) และภรรยาของเค้า มิชชันนารีชาวอเมริกันคู่สังกัดคณะ A.B.C.F.M. (American Board of Commisioners for Foreign Missions) เดินทางมายังพม่าเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนา และได้ทำงานร่วมกับมิชชันนารีคณะแบปติสต์ (Baptist) ภายหลังทั้งคู่ได้ย้ายจากสังกัดคณะ A.B.C.F.M. มาเป็นคณะแบปติสต์ Ms.Judson ได้พบเชลยคนไทยและลูกหลานคนไทยที่ถูกกวาดต้อนมา เมื่อกรุงศรีแตกครั้งที่2 นางจึงได้ศึกษาภาษาไทยและหนังสือภาษาไทย ทำให้ได้แปลคำสอนของ บาทหลวง Judson และพระคัมภีร์แมทธิวที่เป็นภาษาไทย พร้อมกับได้ออกแบบตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น

 

2359

คณะ Baptist ส่ง นายยอร์จ เอ็ช. ฮัฟ (George H. Hough) ให้นำแท่นพิมพ์มาตั้งโรงพิมพ์ Baptist ในพม่า

 

2360

Mr.Hough ได้พิมพ์หนังสือจากตัวพิมพ์ที่ออกแบบโดย Ms.Judson ถือว่าเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือภาษาไทยจากตัวพิมพ์เป็นครั้งแรก

 

2362

พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษ คณะ Baptist จึงย้ายมาอยู่ที่ นครกัลกัตตา (Calcutta) ประเทศอินเดีย โดยได้นำตัวพิมพ์อักษรไทยไปด้วย

 

2371

มีการจัดพิมพ์หนังสือเป็นตัวอักษรไทย ชื่อ ตำราไวยากรณ์ไทย (A Grammar of The Thai or Siamese Language) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press นครกัลกัตตา แต่งโดย กัปตันเจมส์โลว์ (Captain James Low) เป็นนายทหารอังกฤษ

 

2373

โรเบิร์ต เบิร์น (Robert Bern) มิชชันนารีคณะลอนดอน ขอซื้อแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทย จากโรงพิมพ์คณะแบปติสต์ มาติดตั้งดำเนินการอยู่ที่สิงคโปร์

 

2375

โรเบิร์ต เบิร์น ถึงแก่กรรม โรงพิมพ์ขายแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยให้กับมิชชันนารีคณะอเมริกันบอร์ด

 

hpt-5

2378

นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบรัดเลย์” ได้รับมอบแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์อักษรภาษาไทยจากคณะอเมริกันบอร์ด โดยขนย้ายมาจากสิงคโปร์มายัง กรุงเทพฯ

 

2379

หมอบรัดเลย์และหมอโรบินสันร่วมมือกับ Mr.Davenport จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเรื่อง บัญญัติ 10 ประการ พร้อมคำนำ คำอธิบายคำอธิฐานสั้นๆ และเพลงสรรเสริญ 3 บท ขนาด 8 หน้ายก จำนวน 1,000 เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือชุดเล่มแรกในสยามที่เป็นภาษาไทย

 

hpt-13

2382

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ พิมพ์พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง ห้ามสูบฝิ่นและค้าฝิ่น เป็นใบปลิวจำนวน 9,000 ฉบับ

 

2384

หมอบรัดเลย์ได้วานให้ช่างพิมพ์ที่เข้ามาช่วยจากสิงคโปร์ชื่อ วิลเลี่ยม ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ภาษาไทยชุดใหม่ขึ้นมา

 

2385

ในเดือนมกราคม การประดิษฐ์ตัวพิมพ์ภาษาไทยชุดใหม่จึงเสร็จ และหมอบรัดเลย์ได้นำไปถวายเจ้าฟ้ามงกุฎที่วัดบวรนิเวศ 1 ชุด พร้อมตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษ 1 ชุด

 

hpt-7

– พิมพ์หนังสือเล่มแรก “คัมภีร์ครรภ์ทรักษา” 200 ฉบับ

– พิมพ์ “ปฏิทินตามสุริยคติ” ต้นกำเนิดการพิมพ์ปฏิทินในเมืองไทย

 

hpt-2

2387

หมอบรัดเลย์ได้ตีพิมพ์ The Bangkok Recorder (หนังสือจดหมายเหตุ) เพื่อเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ ความคิด เป็นปากเสียงแทนราษฎร ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (ราชธิปไตย) ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน

 

hpt-14

2404

หมอบรัดเลย์ซื้อลิขสิทธิ์พิมพ์หนังสือ “นิราศลอนดอน” ของหม่อมราโชทัย พิมพ์สามก๊ก, หนังสือจินดามณี, พิมพ์พงศาวดารไทย

 

hpt-4

2435

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการก่อตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น กิจการโรงพิมพ์ได้เจริญเติบโตและมีการเปิดโรงพิมพ์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

 

         เป็นอย่างไรบ้างฤๅออเจ้า ที่แท้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ก็คือผู้ที่ได้นำความรู้จากการศึกษางานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศสกลับมาพัฒนานั่นเอง จักว่าเป็นผู้แรกเลยก็ว่าได้นะเจ้าคะ และผู้ที่สำคัญต่อวงการพิมพ์ของไทยเราอีกคนก็คือ หมอบรัดเลย์นั้นเอง หมอนี่เองฤๅที่ทำให้เรามีปฏิทินใช้กันทุกวันนี้ ขอบพระคุณเจ้าค่ะ

ครั้งหน้าพวกข้าจักนำความรู้อะไรมาให้ออเจ้าศึกษาอีก อย่าลืมติดตามกัน

Share